gaziantep escort
gaziantep escort
gaziantep escort
gaziantep escort

ภาวะมีบุตรยาก

ภาวะที่คู่สมรสมีบุตรยากกว่าปกติ ซึ่งทั้งคู่อยู่ร่วมกัน คู่สมรสมีสุขภาพแข็งแรงและมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอโดยไม่มีการคุมกำเนิดเป็นระยะเวลา 1 ปีหรือนานกว่านั้น แล้วยังไม่สามารถมีบุตรได้จึงเรียกภาวะนี้ว่า “มีบุตรยาก” โดยจะพบภาวะนี้ได้ร้อยละ 10-15 ของคู่สมรส
สาเหตุภาวะมีบุตรยาก
  • ชาย มีจำนวนอสุจิไม่เพียงพอหรือไม่แข็งแรง บางรายอาจจะไม่มีอสุจิ ทางเดินหรือท่ออสุจิอุดตันหรือเกิดการติดเชื้อ คางทูม ไส้เลื่อน ถุงน้ำที่อัณฑะ เส้นเลือดขอดที่อัณฑะทำให้เกิดอสุจิเกิดการสูญเสีย เกิดจากโรคทางพันธุกรรม มีภาวะความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้ไม่สามารถผลิตอสุจิได้
  • หญิง การทำงานของรังไข่ผิดปกติ ท่อนำไข่ตีบตัน มีพังผืดในอุ้งเชิงกราน โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ความผิดปกติของมดลูก
ทั้งนี้ ภาวะมีบุตรยากอาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ เช่น ระยะเวลาของการร่วมเพศ อายุ และความสมบูรณ์ของไข่และอสุจิ
เมื่อใดจึงควรพบแพทย์ปรึกษาภาวะมีบุตรยาก
  •     ภายหลังแต่งานเป็นระยะเวลา 1 ปีหรือมากกว่านั้น
  •     มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง แต่ยังไม่ตั้งครรภ์
  •     ฝ่ายหญิงมีอาการระดูมาก ประจำเดือนผิดปกติ ปวดระดูมากผิดปกติ หรือเคยผ่าตัดสงสัยภาวะมีบุตรยาก ก็ควรพบแพทย์ก่อนได้โดยไม่ต้องรอ 1 ปี
  •     ทั้งหญิงและชายมีอายุถึงหรือเกิน 35 ปี ก็สามารถปรึกษาภาวะมีบุตรยากได้โดยไม่ต้องรอจนครบ 1 ปีหลังแต่งานก็ได้
  •     คู่สามีภรรยาต้องการวางแผนก่อนมีบุตร
การป้องกันภาวะมีบุตรยาก
โดยทั่วไปแล้วการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์ มีสุขภาพจิตที่ดี มีการตรวจสุขภาพเป็นประจำ ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ตั้งแต่เนิ่นๆได้ ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากได้ เช่น
  •       การกินเหล้า สูบบุหรี่
  •       มีน้ำหนักตัวหรือภาวะโภชนาการไม่เหมาะสม (อ้วนหรือผอมเกิน)
  •       นอนดึก นอนไม่หลับ นอนไม่เพียงพอ
  •       เครียด
  •       ไม่ออกกำลังกายหรือออกกำลังกายเกินพอดี
  •       กินกาแฟมากเกินพอดี (เกินวันละ 1-2 แก้ว)
  •       ยาเสพติดให้โทษทุกชนิด
  •       ทำงานเสี่ยงต่อสุขภาพ มีสัมผัสต่อ โลหะหนัก สารเคมี ยาฆ่าแมลง เชื่อมเหล็ก น้ำมันเครื่องหรืออื่นๆ ในอุตสาหกรรม
เป็นต้น
การตรวจภาวะมีบุตรยาก
แนวทางการตรวจรักษาภาวะผู้มีบุตรยากควรทำทั้งในหญิงและชาย เพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติ โดยเริ่มแรกจะมีกระบวนการดังนี้
ฝ่ายหญิง
      ซักประวัติเกี่ยวกับ การตั้งครรภ์ครั้งก่อน การแท้ง ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ การเป็นประจำเดือน ความผิดปกติของประจำเดือน ความถี่ห่างการมีเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิด การเจ็บป่วย อุบัติเหตุ การผ่าตัด โรคติดต่อ การรักษาครั้งก่อน การตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูกครั้งก่อน (ถ้ามี) การแพ้ยา ภูมิแพ้ต่างๆ ประวัติครอบครัวและอื่นๆ เป็นต้น
  •       ตรวจร่างกายทั่วไป ชั่งน้ำหนัก ความสูง ความดัน เป็นต้น
  •       ตรวจภายในประเมินความผิดปกติช่องคลอด รังไข่ ท่อนำไข่ มดลูกและโพรงมดลูก เป็นต้น
  •       ตรวจคัดกรองเชื้อ พาหะโรคต่างๆ ตรวจเลือด HIV, ไวรัสตับอักเสบ บี เป็นต้น
  •       ตรวจวัดระดับฮอร์โมนเพศ เป็นต้น
ฝ่ายชาย
  •       ซักประวัติ การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด เป็นต้น
  •       ตรวจร่างการกายทั่วไป ชั่งนำหนัก วัดส่วนสูง ความดัน
  •       ตรวจน้ำเชื้ออสุจิ โดยเทียบกับองค์การอนามัยโลก
  •       เมื่อพบว่าอสุจิคุณภาพไม่ดีหรือมีน้อยกว่ามาตรฐาน ควรตรวจซ้ำอย่างน้อย 1ครั้ง ในรอบเดือนถัดไป
  •       หรือตรวจแล้วพบว่าไม่มีอสุจิ ควรมาตรวจซ้ำอย่างน้อย 3 ครั้ง (เดือนละครั้ง)
  •       ตรวจคัดกรองเชื้อ พาหะโรคต่างๆ ตรวจเลือด HIV, ไวรัสตับอักเสบ บี เป็นต้น
  •       ตรวจวัดระดับฮอร์โมนเพศ เป็นต้น
เมื่อคู่สามีตรวจคัดกรองภาวะมีบุตรยากเรียบร้อยแล้ว แพทย์ผู้ดูแลจะดำเนินการวินิจฉัยและรักษาตามแนวทางต่อไป
 
ข้อมูลอ้างอิง เพิ่มเติม :
คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล (https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=819)
Bangkok Hospital(https://www.bangkokhospital.com/content/infertility-problems-for-people-wanting-to-have-baby)